วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิตามินบี 6

วิตามินบี6

เป็นผลึกไม่มีสี ละลายได้ทั้งในน้ำและแอลกอฮอล์ ทนต่อกรด ถูกสลายได้ด้วยด่างและแสงอัลตราไวโอเลต วิตามินนี้ มักรวมอยู่กับโปรตีนและอยู่ในรูปแอลกอฮอล์ หรือไพริดอกซิน แอลดีไอด์หรือ Pyridoxal แต่มีไพริดอกซินน้อย การดูดซึมของวิตามิน บี 6 ร่างกายจะดูดซึมวิตามิน บี 6 จากอาหารได้เร็วที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็น Coenzyme ในรูป Pyridoxal Phosphate ที่เหลือจะ ถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ และไม่เก็บสะสมไว้ที่ตับ


ประโยชน์

จำเป็นสำหรับการใช้คาร์โบไฮเดรท กรดอะมิโนและกรดไขมันในร่างกาย
ช่วยในการเปลี่ยน Tryptophan เป็น Niacin
จำเป็นสำหรับสุขภาพผิวหนังและระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคผิวหนัง ในผู้ใหญ่
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับระดับน้ำตาลในเลือด ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ
.....และได้รับอินซูลินเข้าไป จะทำให้คนไข้ หมดสติ แต่ถ้าร่างกายมีวิตามิน บี 6
.....ในเลือดมากเพียงพอจะช่วยพยุงอาการคนไข้ไว้ครู่หนึ่ง
จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีนและไขมันในร่างกาย
จำเป็นสำหรับการสร้าง Antibodies และเม็ดเลือดแดง
ช่วยเปลี่ยน Glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นพลังงานจะสะดวกขึ้นถ้ามี วิตามิน บี 6
จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ DNA และ RNA

แหล่งอาหาร

พบมากในตับ เนื้อสัตว์ นม ถั่ว ข้าวซ้อมมือ กล้วย มะเขือเทศ

อันตรายจากการขาดวิตามิน

ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เกิดอาการหงุดหงิด สับสน ขวัญอ่อน
....และอาการชาตามมือและเท้า
ผื่นแผลที่ผิวหนังลักษณะเหมือนการขาดไนอะซิน
พบอาการโลหิตจาง


อันตรายจากการได้รับวิตามินเกิน
ไม่พบอาการพิษ แต่หากได้รับขนาดสูง(2-6 กรัม/วัน)ติดต่อกันหลายเดือน จะมีอาการทางประสาทคือ เดินลำบาก มือชาและควบคุมได้ยาก ประสาทสัมผัสบางอย่างเสียไป

โคลีน และ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์

โคลีน และ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์

สรุปคุณสมบัติของโคลีน

1. เป็นสารอาหารที่จำเป็น และช่วยในการทำงานของระบบประสาท เช่น ความจำ และการทำงานของกล้ามเนื้อ

2. ช่วยในการขนส่งไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ

3. ช่วยในการทำงานของตับให้เป็นปกติ การขาดโคลีนในสัตว์ทดลอง ทำให้มีไขมันสะสมในตับ และนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ

สรุปคุณสมบัติของ วิตามิน บี คอมเพล็กซ์


1. ช่วยในการทำงานของระบบประสาททั้งหมดในร่างกาย

2. ช่วยรักษาโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินบี เช่น เหน็บชา เส้นประสาทอักเสบ ตากระตุก ปากนกกระจอก ผิวหนังหยาบ ผิวหนังอักเสบ ลิ้นอักเสบ และโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี

โคลีน

โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างของผนังเซลล์ (Structural integrity of cell membranes) เมตาบอลิสมของเมธิล (Methyl metabolism) การส่งผ่านของกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) การส่งสัญญาณผ่านผนังเซลล์ (Transmembrane signaling) และ เมตาบอลิสม กับ การขนส่ง ของไขมันและโคเลสเตอรอล

โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง ดังนั้น โคลีนจึงมีผลต่อขบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการรับรู้ เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดยเฉพาะระบบความจำ รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ด้วย

บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีนคือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ (Fat transportation) และลดการสะสมไขมันในตับ (Hepatic steastosis) การทดลองในหนูพบว่า หากขาดโคลีนก็จะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ การศึกษาวิจัยในคน ก็พบว่า ผู้ที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือด และมีการขาดโคลีนก็จะเพิ่มไขมันสะสมในตับเช่นกัน และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับ โคลีนก็จะลดการสะสมไขมัน และลดการอักเสบของตับได้จริง สำหรับสัตว์ทดลอง เช่น หนู สภาวะที่ตับมีไขมันสะสมนี้ ยังร่วมไปกับ เพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งที่ตับได้ ในทางกลับกัน เมื่อหนูทดลองเหล่านี้ได้รับ โคลีน เสริม ก็ลดการเกิดมะเร็งในตับได้เช่นกัน

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีน ยังมีประโยชน์ในด้านช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจด้วย


ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน (Adequate Intake) สำหรับผู้ใหญ่ เพศชาย และ หญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ มีรายงานการวิจัยถึงผลกระทบของการขาดโคลีนในมนุษย์ว่าจะมีผลทำให้ปริมาณโคลีนลดลงและเกิดความเสียหายต่อตับได้

วิตามินบี-คอมเพล็กซ์ คืออะไร

วิตามินบี-คอมเพล็กซ์ หรือ วิตามินบีรวมเป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ช่วยบำรุงร่างกาย ผิวหนังและระบบประสาท วิตามินบีรวมประกอบด้วย วิตามินบี1 (Thiamine), วิตามินบี 2 (Riboflavin), วิตามินบี 3 (Niacin), วิตามินบี 5 (Pantothenic acid), วิตามินบี 6 (Pyridoxin), วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) นอกจากนี้ยังมี กรดโฟลิค (Folic acid) โคลีน (Choline) อิโนซิทอล (Inositol) และไบโอติน (Biotin) อีกด้วย

วิตามินบีต่าง ๆ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

วิตามินบี1 (Thiamine) มีความสำคัญต่อเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต

หากขาดจะทำให้เกิดโคเหน็บชา และจะแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทางระบบประสาทจะมีอาการชาตามมือตามเท้า ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ส่วนอาการทางสมองพบว่า เนื้อสมองจะถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า กระสับกระส่าย ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบว่า หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจมีขนาดโตขึ้นและมีความผิดปกติของการบันทึกคลื่นหัวใจ

วิตามินบี2 (Riboflavin) มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์เมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เป็น co-enzyme ในการเปลี่ยนวิตามินบี 6 และกรดโฟลิค ให้อยู่ในรูป active ทั้งยังทำหน้าที่รักษาสภาพของเยื่อบุผิวและ mucosa ให้เป็นปกติ

หากขาด จะมีอาการแสดงทางตา ริมฝีปากและผิวหนัง เริ่มแรกนั้นริมฝีปากจะอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีด แตก เรียกลักษณะดังกล่าวว่าปากนกกระจอก (Angular stomatitis) และเมื่อเป็นมากขึ้น จะมีอาการทางผิวหนัง ใบหน้ามีสะเก็ดมัน ๆ ต่อมาจะมีอาการอักเสบของตา ตาสู้แสงไม่ได้ คันตาและแสบลูกตา


วิตามินบี 3 (Niacin) มีบทบาทในกระบวนการ Glycolysis, Krebs cycle และการสังเคราะห์กรดไขมัน

หากขาด จะมีผลต่อระบบประสาท โดยมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และสมอง เช่น ปลายประสาทอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ชักและหมดสติก่อนตาย รวมถึงยังมีผลต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีลักษณะผิวหนังหยาบ เป็นจ้ำสีม่วงหรือเข้ม นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่มีร่องแตกที่บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุลิ้นจะฝ่อ ลีบ มีอาการอักเสบของลำไส้เล็กและมีเลือดออก ท้องเดิน

วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายหลายอย่าง เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต การสร้างกลูโคส การสังเคราะห์กรดไขมัน และเสตียรอยด์ฮอร์โมน

หากขาด อาจจะมีอาการปวดท้อง อาเจียนและเป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ


วิตามินบี 6 (Pyridoxine) เป็น co-enzyme ที่จำเป็นต่อการผลิตสารสื่อประสาทหลายชนิด มีความสำคัญต่อปฏิกิริยาทั้งหมดในเมตาบอลิสมของกรดอะมิโน มีบทบาทในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง

หากขาด จะพบอาการโลหิตจาง อ่อนเพลีย เป็นแผลที่มุมปาก ริมฝีปากอักเสบ ชาปลายมือปลายเท้า ผิวหนังเป็นจ้ำ ๆ สีม่วง และมีอาการทางประสาท เช่น มีความคิดสับสน ซึมเศร้า และอาจจะเกิดอาการชักได้

วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) มีบทบาทในเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน รวมถึงมีบทบาทในการเจริญ การแบ่งตัวของเซลล์ และการสังเคราะห์สารที่หุ้มเส้นประสาท (myelin) ด้วย

หากขาด จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ผิว โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ลิ้นอักเสบ และมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุตลอดทางเดินอาหาร และเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างสารที่หุ้มเส้นประสาท (myelin) ดังนั้น ผู้ที่ขาดจะทำให้มีอาการทางประสาท เช่น ชาตามมือและเท้า เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการสับสน ประสาทหลอนได้ รวมถึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างปกติของเม็ดเลือดแดง หากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้โลหิตจาง

วิตามินบีรวม

วิตามิน บี รวม

เป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาท

และความสมบูรณ์ของอวัยวะ ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยวิตามิน บี 1, บี 2,

ไนอะซีน, แพนโทธีนิก แอซิด, บี 6, บี 12, โฟลิก แอซิด, ไอโนซิทอล

และโคลีน วิตามิน บี รวม เหมาะสำหรับการบำรุงสุขภาพของผิว ผม สายตา

ตับ และยังมี ประโยชน์อย่างมากในการรักษาความผิดปกติของเส้นประสาท

ความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวันทำให้ ร่างกายต้องการวิตามิน บี มากยิ่งขึ้น

วิตามิน บี 1 (ไธอะมีน) มีความจำเป็นในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท

และมีความจำเป็นต่อสุขภาพของระบบประสาท อาการรู้สึกสับสนเป็นอาการของ

การขาดวิตามิน บี1

วิตามิน บี 2 (ไรไบฟลาวิน) ป้องกันการเกิดสิว และเป็นปัจจัย

สำคัญของการหายใจระดับเซลล์ ช่วยในการมองเห็น ช่วยบำรุงผิวหนัง ผม

และ เล็บ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ

วิตามิน บี 3 (ไนอะซิน) เป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางชีวเคมีมาก

กว่า 50 ปฏิกิริยา ช่วยในการรักษาอาการเครียดและซึมเศร้า

ช่วยเสริมการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดไมเกรน ผู้ที่รับประทาน

น้ำตาลทรายขาวมาก ๆ จำเป็นต้องได้ รับวิตามิน บี 3 มากเป็นพิเศษ

วิตามิน บี 5 (แพนโทธีนิก แอซิด) เป็นสารที่พบอยู่ในเซลล์และมีความจำเป็น

ต่อปฏิกิริยาชีวเคมี ช่วยในการทำงานและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไต

ในการบรรเทาอาการเครียด

วิตามิน บี 6 (ไพริดอกซิน) มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง

ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย การย่อยอาหาร

การดูดซึมของไขมันและโปรตีน การสร้างระบบภูมิต้านทานในร่างกาย

วิตามิน บี 12 (ไซอะโนโคบาลามิน) มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ

เซลล์ต่าง ๆ ป้องกันการถูกทำลายของเส้นประสาท ช่วยในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์

ประสาท โฟลิก แอซิด ทำงานร่วมกับวิตามิน บี 12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง

บรรเทาอาการหมดแรง หงุดหงิดง่าย ปวดศรีษะ อาการหลงลืม บรรเทาอาการทาง

ประสาท โคลีน ช่วยในการสร้างสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อสัญญาณ

ประสาทที่สำคัญในสมองที่ใช้ในการเก็บความทรงจำ ไอโนซิทอล ช่วยใน

ปฏิกิริยาชีวเคมีของไขมันทำให้ใช้ไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ช่วยในการเสริมอาหารให้แก่สมอง

ไบไอติน ช่วยในการสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต และการสร้างกรดไขมัน

ในร่างกายรับประทานอาหารอะไรจึงจะได้วิตามินบีข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง

ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู ตับ ถั่ว รำข้าว และยีสต์ เครื่องใน เช่น ตับ ไต (เซี่ยงจี๊)

หัวใจวัว, ไตวัว น้ำนม นมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)ผักใบเขียว และ ปลา,

เนื้อกระต่าย, ไก่งวง, ไก่เนื้อ ปลาทูน่า แป้งสาลี่ที่บดทั้งเมล็ด

เมล็ดในดอกทานตะวัน, ถั่ว และยีสต์วิตามิน บี แม้จะพบมากในข้าว

แต่ปัจจุบันข้าวที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำมักเป็นข้าวที่ถูกขัด จนขาวไม่มี

วิตามิน บี เหลืออยู่ ประกอบกับการรับประทานน้ำตาลทรายขาวเป็นประจำ

จึงทำให้วิตามินบี ที่มีอยู่ในร่างกายถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในวัยที่ต้องใช้

สมองมากเป็นพิเศษจึงควรเอาใจใส่ ในเรื่องสุขภาพควบคู่ไปกับการศึกษา

การรับประทานข้าวกล้อง และน้ำตาลทรายที่ไม่ขัดสีจะช่วยเพิ่มวิตามินบี

ให้แก่ชีวิตประจำวันได้

ข้อมูลจาก : เอกสารทางการแพทย์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์

วิตามินเอแก้สิว!!!!!!

วิตามินเอ กับสิว


วิตามินเอนั้นจำเป็นต่อร่างกายในแง่ของสุขภาพผิวและความสมดุลของฮอร์โมน งานวิจัยยืนยันว่าคนที่เป็นสิวรุนแรงนั้นมีระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ มีรายงานมากมายที่บันทึกเกี่ยวกับหญิงวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและเป็นสิว และได้รับการรักษาสิวให้หายภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ รวมถึงรอยแผลที่เกิดจากสิวก็หายไป หลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยสังเกตว่าไม่มีสิวใหม่ขึ้นอีกใน 5 ปี ผู้ป่วยอีกรายรายงานว่า หน้าของเธอใส เกลี้ยงขึ้นใน 1 เดือนหลังจากได้รับวิตามินเอ แหล่งที่มาทางธรรมชาติของวิตามินเอที่ดีคือ แครอท ผักใบเขียว (เช่นบร๊อคโคลี่, กระหล่ำเขียว, ผักขม) ผลไม้สีเหลือง/สีส้ม (เช่นลูกพีช, แอพริคอท, มะม่วง)
วิตามินเอ คืออะไร - - วิตามินเอเป็นวิตามินที่สำคัญที่ช่วยในเรื่องของการมองเห็น, การเจริญเติบโตของกระดูก, การสร้างใหม่, การแบ่งเซลล์ และความแตกต่างของเซลล์ (เช่น เซลล์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมอง, กล้ามเนื้อ, ปอด, เลือด หรือเนื้อเยื่อพิเศษ วิตามินเอช่วยในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยป้องกัน หรือต่อสู้กับเชื้อโรคโดยการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมาทำลายแบคทีเรียและไวรัส วิตามินเอยังอาจช่วยลิมโฟไซท์ส (ประเภทของเซลเม็ดเลือดขาว) ต่อสู้เชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น วิตามินเอนั้นสร้างด่านป้องกันบริเวณดวงตา, ทางเดินหายใจ, ท่อปัสสาวะ และลำไส้ เมื่อพื้นที่บริเวณเหล่านั้นไม่ทำงาน แบคทีเรียก็จะเข้ามาในร่างกายได้ง่ายขึ้น และร่างกายก็จะติดเชื้อ วิตามินเอยังช่วยผิว และเยื่อบุผิวบริเวณช่องจมูกและปากเป็นการป้องกันแบคทีเรียและไวรัส โดยทั่วไปแล้ววิตามินเอจะมีอยู่ 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่าได้จากแหล่งใดของอาหาร พืชหรือสัตว์
วิตามินเอในอาหารที่ได้จากสัตว์เรียกว่า พรีฟอร์มวิตามินเอ ที่จะถูกดูดซึมในรูปของเรตินอล ซึ่งเป็นแบบที่ได้ผลดีที่สุด แหล่งอาหารดังกล่าวคือ ตับ, นม
วิตามินเอที่ได้จากผลไม้และผักเรียกว่า โปรวิตามินเอ แคโรทีนอยด์ โดยทั่วไปจะพบสารแคโรทีนอยด์ได้จากพืช เช่นเบต้า-แคโรทีน, อัลฟ่า-แคโรทีน และเบต้า-คริปโตซานทิน เหล่านี้เบต้า-แคโรทีนนั้นเป็นตัวที่ให้ประสิทธิภาพดีที่สุดในการทำให้เป็นเรตินอล อีกสองตัวที่เหลือนั้นก็สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้แต่ให้ประสิทธิภาพแค่เพียงครึ่งหนึ่งของเบต้า-แคโรทีน ในจำนวนแคโรทีนอยด์ 563 ประเภท น้อยกว่า 10% ของทั้งหมดที่จะสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้ แคโรทีนอยด์บางชนิดนั้นสามารถทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้


ที่มา

วิตามิน เอ

วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง

ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา

วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A)หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมาในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

ประโยชน์
ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

แหล่งวิตามินเอ
ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง น้ำหนัก 100 กรัม 18,608 IU
ยอดชะอม น้ำหนัก 100 กรัม 10,066 IU
คะน้า น้ำหนัก 100 กรัม 9,300 IU
แครอท น้ำหนัก 100 กรัม 9,000 IU
ยอดกระถิน น้ำหนัก 100 กรัม 7,883 IU
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 7,200 IU
ฟักทอง น้ำหนัก 100 กรัม 6,300 IU
มะม่วงสุก 1 ผล(โดยเฉลี่ย) 4,000 IU
บรอกโคลี 1 หัว(โดยเฉลี่ย) 3,150 IU
แคนตาลูบ น้ำหนัก 100 กรัม 3,060 IU
แตงกวา 1 กิโลกรัม 1,750 IU
ผักกาดขาว น้ำหนัก 100 กรัม 1,700 IU
มะละกอสุก 1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย) 1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 810 IU
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 800 IU
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 500-700 IU
แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว น้ำหนัก 100 กรัม 470 IU


อันตรายจากการขาดวิตามินเอ
โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน
แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป



จากเวป วิกิพีเดีย